วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย



อาณาจักรสุโขทัยแบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ


ยุคแรก ปกครองแบบ พ่อปกครองลูก คำหน้าพระนามพรระมหากษัตริย์จะมีคำว่า พ่อขุน นำหน้า


ลักษณะเด่น มีพลงเมืองน้อย ปกครองง่าย มีความใกล้ชิดระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์


ยุคกลาง ปกครองแบบจักรพรรดิ คำนำหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์จะมีคำว่า พญา นำหน้า


ลักษณะเด่น มีประชากรเพิ่มมากขึ้น ผู้ปกครองมีอำนาจเด็ดขาดมากขึ้น


ยุคปลาย ปกครองแบบธรรมราชา คำนำหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์จะมีคำว่า พระมหาธรรมราชา นำหน้า


ลักษณะเด่น นำเอาหลักธรรมของศาสนาพุทธในเรื่องการเป็นผู้นำผู้ปกครองมาใช้ควบคุมพฤติกรรมพระมหากษัตริย์ คือ ทศพิธราชธรรม


ประเทศไทยเป็นชาติที่เก่าแก่และมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานชาติหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาณาจักรแรกของไทย คือ อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งสถาปนาขึ้นโดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์พระร่วง การเมืองการปกครองในสมัยนั้นเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งเป็นการปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของพระมหากษัตริย์แต่เพียงพระองค์เดียว


สมัยสุโขทัย( พ.ศ.1792 -พ.ศ. 1981 ) ลักษณะการเมืองการปกครอง


ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ บิดาปกครองบุตร คือ ถือว่าพระองค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิ เสรีภาพ และมีความใกล้ชิดกับประชาชน มีหน้าทีให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ประชาชน ประชาชนในฐานะที่เป็นบุตรมีหน้าที่ให้ความเคารพและเชื่อฟังพ่อขุน พ่อขุนกับประชาชนในรูปแบบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตร ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน กล่าวคือ ประชาชนมีสิทธิถวายฎีกา หรือร้องทุกข์โดยตรงต่อพ่อขุน เช่น สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้มีการแขวนกระดิ่งไว้ที่ประตูวัง ถ้าประชาชนต้องการถวายฎีกาก็จะไปสั่นกระดิ่ง พระองคืจะเสด็จออกมาทรงชำระความให้ ในการจัดการปกครองอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี อำนาจในการวินิจฉัยสั่งการจะอยู่ที่เมืองหลวง ซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ช่วยเหลือ อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่พระองค์ทรงรวบรวมหัวเมืองน้อยใหญ่เข้ามาไว้ในปกครองมากมายจึงยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆเหล่านั้นโดยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การปกครองเมืองต่างๆในสมัยสุโขทัยอาจแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ


1. การปกครองส่วนกลาง


ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง เมืองหลวงคือ สุโขทัยอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวงทั้ง 4 ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครอง


2. การปกครองหัวเมือง


หัวเมือง หมายถึง เมืองที่อยู่รอบนอกอาณาเขตของเมืองหลวง ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ


2.1 หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลกรุงสุโขทัย หรือ อยู่รอบนอกอาณาเขตของเมืองหลวง


2.2 หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีพระมหากษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจกรุงสุโขทัย โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายและช่วยส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ





มาทำแบบทดสอบกันเลยจร้า
http://quickr.me/gzohKoc